รายละเอียด : |
#พระสมเด็จกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ #พิมพ์ปรกโพธิ์
พระสมเด็จวัดบึงพระยาสุเรนทร์ มีกันสร้างในหลายพิมพ์ด้วยกัน ซึ่งแต่ละพิมพ์สร้างมาจากเนื้อผงน้ำมันงา ซึ่งเหตุที่ต้องผสมน้ำมันงาในส่วนผสมเนื่องจาก พระยาสุเรนทร์ท่านได้สืบต่อวิชาทำน้ำมันงามาจากตระกูลท่าน ซึ่งน้ำมันงามีอานุภาพทางคงกะพันชนตรี
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์บางพิมพ์ได้ลอกแบบมาจากพิมพ์พระของวัดราชโยธา ท่านศรัทธาและเคารพในองค์หลวงปู่ทองท่านมาก กรุของวัดบึงฯ จะมีการแตกกรุออก 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 กรุเก่าจะแตกกรุหรือทำการเปิดกรุในช่วงสงครามโลกครั้ง 2 กรุเก่า สีจะออกเขียวเข้มจนมองแทบเป็นดำ แต่ไม่ใช่สีดำ
ครั้งที่ 2 กรุเก่าจะแตกกรุอีกครั้งในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2530 กรุใหม่สีจะออก สีเขียวอ่อนๆ ทุกองค์จะต้องมีคราบฝ้าเกาะอยู่
*** ที่สำคัญการจารด้านหลังจะมีจารอยู่สองแบบ คือ จารเปียก กับ จารแห้ง รอยลงจารก็จะมีหลายฝีมือเกจิอาจารย์ช่วยกันเนื่องด้วยสร้างไว้มากเพื่อสืบทอดศาสนา แต่ยันต์ที่จารจะเป็นลักษณ์ยันต์เดียวกัน
พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ กรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์
พระสมเด็จวัดบึงพระยาสุเรนทร์ นับเป็นพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่งที่เรียกกันว่า "เป็นของดี ราคาถูก" และยังคงเป็นที่นิยมและแสวงหากันมากในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา เพราะนอกจากจะเป็นของดีราคาถูกดังกล่าวแล้ว องค์พระเองก็น่าสนใจไม่น้อย ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ อีกทั้งมวลสารที่นำมาประกอบการสร้างก็นับเป็นตำรับลับเฉพาะของตระกูล "สิงหเสนี"
วัดบึงพระยาสุเรนทร์ เป็นพระอารามในกรุงเทพมหานคร ผู้ดำเนินการสร้างและอุทิศให้เป็นเขตวิสุงคามสีมา ได้แก่ เจ้าพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) ท่านเป็นบุตรของพระยามุขมนตรี และเป็นหลานของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
ในสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ยังคงปกครองแบบระบบศักดินา คือ เหล่าข้าราชบริพารจะได้รับอำนาจปกครองที่ดินมากน้อยตามแต่ยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์ฯ ก็เช่นกัน ท่านได้ที่ดินตามศักดินาในยุคนั้น และได้เว้นที่ริมบึงเก่าซึ่งต่อมาเรียก "บึงพระยา สุเรนทร์" พร้อมกับที่ใกล้บึงถวายวัดจำนวน 48 ไร่ ส่วนตัวท่านเอง ในบั้นปลายชีวิตก็ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วัดบึงพระยา สุเรนทร์นี้ และได้สร้าง "พระพิมพ์บึงพระยาสุเรนทร์" ขึ้น
พระบึงพระยาสุเรนทร์ มีเอกลักษณ์สำคัญคือ เนื้อขององค์พระดูจะแก่น้ำมันและออกสีเขียวๆ ซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็น "ผงหินเขียว" ตามตำรับการสร้างพระแต่โบราณ และที่สำคัญก็คือ มีส่วนผสมของ "น้ำมันพุทธมนต์" ที่ปลุกเสกตามตำรับลับประจำตระกูลท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา ซึ่งเป็นตำรับเฉพาะพวก "สิงหเสนี" เท่านั้น
พระบึงพระยาสุเรนทร์ ปรากฏพิมพ์ด้านหน้าหลายพิมพ์ ได้แก่
1. พิมพ์พระเจ้า 5 พระ องค์ กำกับพระนาม “นะ โม พุท ธา ยะ”
2. พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์
3. พิมพ์สมเด็จฐานแซม
4. พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ขั้น
5. พิมพ์ซุ้มกอ ทำเป็นรูปสมเด็จแต่ตัดพิมพ์ด้านบนตามรอยโค้งของซุ้มครอบแก้ว มีผู้สันนิษฐานว่า พิมพ์ที่เรียกว่าพระสมเด็จนั้นคงจะทำแบบพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ส่วนด้านหลังองค์พระจะเป็นหลังเรียบ มักพบจารอักขระขอม 4 ตัว อ่านได้ว่า "ติ ติ อุ นิ" และขึ้นยอดเป็น "ตัวอุณาโลม"
ในด้าน ความศักดิ์สิทธิ์และพุทธคุณนั้น เอาเป็นว่าคนโบราณถึงกับร่ำลือกันว่า "ใครมีพระบึงพระยาสุเรนทร์ ก็แล้วกัน สำหรับวิธีการสังเกตและพิจารณาว่าเป็นพระแท้หรือไม่ ให้ดูองค์พระที่ผ่านการใช้ องค์พระจะแลดูฉ่ำคล้ายผงน้ำมัน แต่ของเทียมเนื้อจะฝ่อ และหดเหี่ยว ไม่ตึงแน่นเหมือนพระแท้ องค์พระจะออกสีเขียวในเนื้อ |